TKP HEADLINE

MENU

ศาลเจ้าพ่อวิกโยธิน

ตำนาน…เจ้าพ่อวิทยาโยธิน
หากนับเวลาย้อนหลังไปเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ซึ่งอยู่ในยุคของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน(ระหว่าง พ.ศ.2436-2461)ชาวเงี๊ยว ชาวม่าน ชาวยอง ได้มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนอยู่ริมแม่น้ำน่าน ฝั่งทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านท่าวังผาในปัจจุบัน และประมาณปี พ.ศ.2440 ได้มีกลุ่มพ่อค้าจากอำเภอเมืองน่าน มีทั้งคนจีน คนพม่าและคนเมือง จากบ้านหัวเวียงเหนือและบ้านหัวเวียงใต้ บ้านสวนตาล บ้านดอนต้นแหลง(ดอนศรีเสริม)นำสินค้าบรรทุกเรือมาขายที่บ้านท่าวังผาและนำสินค้าทางเหนือไปขายในเมือง กลุ่มพ่อค้าเหล่านี้จะพักแรมอยู่ที่บ้านท่าวังผาหลายวัน เพื่อขายสินค้าและซื้อสินค้าไปขายในเมือง และมีพ่อค้าบางกลุ่มเล็งเห็นว่า บริเวณบ้านท่าวังผาเป็นทำเลที่ตั้งเหมาะสมกับการค้าขาย จึงพากันตั้งรกรากอยู่ตรงบริเวณดังกล่าว รวมกับกลุ่มคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิม รวมแล้วประมาณ 30 หลังคาเรือน อยู่เรียงรายตามริมแม่น้ำน่านสมัยนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นผืนป่ากว้างใหญ่โดยเฉพาะทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นดงดิบมีสัตว์ป่าใหญ่น้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากมาย และอีกสิ่งหนึ่งคือ”ศาลเจ้าพ่อ”สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับบ้านท่าวังผาและดำรงความศักดิ์สิทธิ์อย่างไม่เสื่อมคลาย ศึกษาเพิ่มเติม

Share this:

แสดงความคิดเห็น

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดน่าน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand