TKP HEADLINE

อักษรล้านนา (ตัวเมือง)

ภาษาล้านนา หมายรวมถึง ภาษาเขียน (ตั๋วเมือง) และภาษาพูด (กำเมือง) นอกจากจะใช้ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือแล้ว ยังมีผู้ใช้ภาษาล้านนาในบางท้องที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย สระบุรี ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น นครเชียงตุง (เมียนม่าร์) สิบสองปันนา (จีน) และอีกหลายแห่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แม้จะมีสำเนียงพูดผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ตัวอักษรแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็สามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะภาษาเขียนที่ใช้ในนครเชียงตุง ที่เรียกว่า ตั๋วขึน ทั้งลักษณะของตัวอักษร และอักขรวิธีเหมือนกับ ตั๋วเมือง ที่ใช้ในภาคเหนือของไทย อักษรล้านนา (ตั๋ว เมือง) ถือได้ว่าเป็นอักษรแห่งภาษาแม่ของชาวล้านนา เป็นมรดกอันล้ำค่าทางอักษรศาสตร์ เป็นศาสตร์อันสูงสุดของชาวล้านนา เป็นภูมิปัญญาของนักปราชญ์ชาวล้านนา เป็นอักษรแห่งมนต์ขลัง ถือกันมาว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การรับรองพระพุทธพจน์ จึงเป็นอักษรที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ใช้ในการจารพระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลาน ธรรมชาดก บทสวดมนต์ พงศาวดาร ตำนาน ศิลาจารึก โหราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายาสมุนไพร วรรณกรรมล้านนา ตลอดถึงคติ คำสอนต่างๆ และที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง คือตำราไสยศาสตร์ เลขยันต์ คาถาเวทย์มนต์ต่างๆ ที่คนล้านนาถือว่าขลังมาแต่โบราณกาล ศึกษาเพิ่มเติม

Share this:

แสดงความคิดเห็น

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดน่าน. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand