พระธาตุดินไหว


ในอดีต พญาไชยมงคล แสนปง แสนม่วง แสนกอก แสนศาลา แสนทุ่งกวาง แสนท่าล้อ แสนนาก้อและแสน หัวเมือง ได้เดินทางไปคุ้มหลวงเมืองน่านเพื่อปรึกษาเจ้าเมืองน่านเจ้าเมืองน่านจึงเรียกบุตรทั้ง 4 มาตกแต่งยอดฉัตรยาว 2 วา 2 ศอก เสร็จแล้วพญาไชยมงคลพร้อมทั้งแสนทั้ง 8 ก็นำยอดฉัตรลงเรือมาตามลำน้ำน่านจนถึงเมืองแงง คณะทั้งหมดได้นำยอดฉัตรมาพักณวัดวังม่วงพอถึงวันเพ็ญเดือน 7 พ.ศ. 2370 ก็ตกแต่งขบวนเรือแห่มายังท่าธาตุ (สถานที่ประดิษฐานพระธาตุดินไหว) พอเรือเทียบท่าพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาตีฆ้องตีกลองทำพิธีอัญเชิญยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานโดยแกะสลักไม้เป็นรูปพญาหงส์ทองคาบขึ้นไปในขณะนั้นเองได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น คือ เกิดแผ่นดินไหวทุกคนรู้สึกได้จึงขนานนามพระธาตุองค์นี้ว่า พระธาตุดินไหว ดังนั้นพอถึงวันเพ็ญเดือน 7 ของทุกปีจะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน พระธาตุดินไหวและเจ้าผีเมืองหนองอ่อม เป็นที่เคารพนับถือและสักการะปู่จาของคู่บ้านคู่เมืองของชาวตำบลแงง ต่อมาได้มีหมู่บ้านมากมายอพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้น เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2523 จึงได้แบ่งแยกการปกครองออกเป็นสองตำบลเพราะมีลำน้ำขวางกั้นทำให้การคมนาคมไปมาไม่ได้สะดวก จึงได้แบ่งออก โดยยึดเอาลำน้ำปัวเป็นเขตแดนติดต่อและพระธาตุดินไหว ปูชนียสถานเดิมได้ตกอยู่ในเขตตำบลน้องใหม่ ต่อมาชาวตำบลซึ่งตั้งขึ้นใหม่ได้มารวมกันตั้งชื่อ ตำบลใหม่ว่า ตำบลเจดีย์ชัย โดยภายใต้การนำของ นายชื่น มีบุญ และจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุทุกปีในวันวิสาขบูชา ศึกษาเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น